เมนู

19. สัมปยุตตปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.

ใน 2 ปัจจัยนี้ มี 9 วาระ.

20. วิปปยุตตปัจจัย


[32] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
วิปปยุตตปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย, เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของ
วิปปยุตตปัจจัย.
2. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของวิปปยุตตปัจจัย.

มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ, หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้
ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
3. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของวิปปยุตตปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตต-
ปัจจัย.
4. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุ-
ธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย และ
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
5. เหตุธรรมและนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็น
ปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดภายหลัง เป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

21. อัตถิปัจจัย


[33] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย.

คือ อโลภะ เป็นปัจจัยแก่อโทสะ, แก่อโมหะ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย.
โลภะ เป็นปัจจัยแก่โมหะ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
2. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ